To me nature is like an inventor, scientist, artist, composer, philosopher, an expert of different fields all in one. Nature is not only about places, trees, wildlife, mountains, skies, rivers and sunlight that we see when we look out, but also intangibles like the whisper of the wind and the smell after a rain. Do you know that nature has written many books? The books that contain the history of the planet earth. My favorite ones are stories of the past environment and climate, which I have been studying through wood that turned into stone—petrified wood. Each petrified wood sample is like a chapter of a giant earth history book or a beautiful work of art created by nature, each chapter has its own story preserved in the cell structure. For example, unclear growth ring patterns with wide water conducting vessels consistently spreading throughout the wood suggest a tropical climate. Identifying fossil wood to find their nearest living relative trees will help us understand the environment where those trees grew. Evidence of the past flora can be found in petrified forests of many countries including Thailand, Myanmar, Indonesia, China, India, Greece, Argentina, Madagascar, and the United States. If you would like to take a walk in the nature, I suggest you visit one of them. It is like John Muir’s quote “In every walk with nature one receives far more than he seeks”.
สำหรับฉันแล้ว ธรรมชาติเปรียบเสมือนนักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน นักประพันธ์และปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นกายภาพ ชีวภาพ ศิลปะ ภาษา และบทกวี ธรรมชาติมิใช่แค่เพียงสถานที่ ต้นไม้ สัตว์ป่า ภูเขา ท้องฟ้า สายน้ำและแสงแดดที่เราเห็นเมื่อมองออกไปข้างนอก แต่รวมถึงนามธรรมที่เราไม่อาจมองเห็นแต่สัมผัสได้ เช่น เสียงลมที่พัดผ่านและกลิ่นดิน รู้ไหมว่า ธรรมชาติก็เขียนหนังสือเช่นกัน ? หนังสือที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลก เล่มโปรดของฉันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศบรรพกาล ศึกษาผ่านเนื้อไม้กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหินแต่ละท่อนเปรียบเสมือนแต่ละบทของหนังสือที่บันทึกเรื่องราวประวัติโลกเล่มใหญ่หรือศิลปกรรมอันงดงามสรรค์สร้างโดยธรรมชาติ ที่มีเรื่องราวจากแต่ละเหตุการณ์ซ่อนอยู่ในโครงสร้างของเซลล์ที่ยังคงสภาพเดิม ยกตัวอย่างจากลักษณะวงปีที่ไม่เด่นชัดและการกระจายตัวของท่อลำเลียงน้ำที่มีขนาดกว้างอย่างสม่ำเสมอ บ่งบอกลักษณะของสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น การจำแนกซากดึกดำบรพ์ไม้เพื่อค้นหาพรรณไม้ปัจจุบันที่มีความใกล้เคียงกันช่วยให้เราเข้าใจลักษณะของสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เคยเจริญเติบโต หลักฐานพรรณไม้ดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ในป่าไม้กลายเป็นหินจากหลายประเทศ รวมทั้งไทย พม่า อินโดนีเซีย จีน กรีซ อาร์เจนตินา มาดากัสกา และสหรัฐอเมริกา ถ้าคุณเป็นผู้ที่ชอบเดินไปในธรรมชาติ ลองแวะไปเยี่ยมชมสถานที่เหล่านี้แล้วคุณจะพบว่า “ทุกย่างก้าวที่เดินเคียงไปกับธรรมชาติเรามักเรียนรู้ได้มากกว่าที่เราค้นหาเสมอ” เช่นเดียวที่นักธรรมชาติวิทยา John Muir ได้กล่าวไว้